music video ทำเอง

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Fullmetal Alchemist-numa numa

RUNMA-Music vdo

K-otic - Damn (I Think I Love You)

shake it - girly berry

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

CASE เคสหรือตัวถัง หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นเป็นเพียงวัสดุที่ทำเพื่อให้เราสามารถติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ประกอบกันได้เป็นระเบียบ แล้วก็ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ด้วย ภายในเคสก็จะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งเมนบอร์ด ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ติดตั้งซีดีรอม มีพัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น


Power Supply อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นจะไร้ค่าทันที ถ้าหากไม่มีกระแสไฟฟ้า พาวเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เช่น 450 วัตต์ เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ Heatsink + FAN ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อน จะใช้ติดตั้งบนตัวซีพียู เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากซีพียู โดยพัดลม กับฮีตซิงค์นั้นจะมีขายให้พร้อมกับซีพียู หรือจะซื้อแยกต่างหากก็ได้ การเลือกซื้อควรดูซีพียูที่คุณใช้ว่าเป็นซีพียู รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ เพื่อที่จะเลือกพัดลมให้เหมาะสม โดยพัดลมจะมีความเร็วในการหมุน หากมีความเร็วรอบสูงๆ จะช่วยให้การระบายความร้อนทำได้ดี แต่ก็ทำให้เกิดเสียงดังรบกวน


Microprocessor / CPU (Central Processing Unit) ไมโครโพรเซสเซอร์หรือที่เรียกกันติดปากว่าซีพียู ซึ่งเปรียบเสมือนกับเครื่องยนตร์ของรถยนตร์นั่นเอง ซีพียูที่ใช้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AMD, Intel, PowerPC, Sparc, Cyrik แม้จะมีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ แต่การทำงานนั้นเหมือนกัน คือซีพียูจะทำหน้าที่ในการคำนวณ การสั่งการงานชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพของซีพียูจะใช้ความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) เป็นตัวบ่งบอก เช่น Pentium 4 1.6 กิกะเฮิร์ต Pentium 4 3.0 กิกะเฮิร์ต ซีพียูยิ่งมีสัญญาณนาฬิกาสูงการทำงานก็จะเร็วขึ้น ซีพียูที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือซีพียูจากบริษัท Intel ซึ่งมีซีพียูตระกูล Pentium กับ Celeron และซีพียูจากบริษัท AMD ในตระกูล AMD Athlon XP, AMD Duron โดยที่ซีพียูจากสองบริษัทก็จะมีหลายรุ่น และแบ่งแยกออกไปเป็น ซีพียูสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Mobile CPU) ซีพียูสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น


RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วย แรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น หากมีข้อมูลที่ซีพียูจำเป็นต้องใช้งานบ่อยๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แรมก่อน เพื่อให้ซีพียูเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง แรมยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น DRAM, DDRRAM, SDRAM, RDRAM, FlashRAM, VRAM เป็นต้น การเลือกซื้อแรมนั้นต้องดูว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ต้องการซื้อหรือที่มีอยู่ มีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบไหน เช่น เมนบอร์ดยี่ห้อ MSI รุ่น MS6373 มีสล็อตแรมแบบ 3DDR DIMM ก็คือมีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมได้สามชิ้น โดยแรมที่ใช้กับเมนบอร์ดนี้ต้องเป็นแรมแบบ DDRHARD DISK อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเทปเพลงที่ใช้กับเครื่องเสียง คือใช้แม่เหล็กสำหรับจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ทุกโปรแกรม เกมส์สนุกๆ ที่คุณเล่น งานที่คุณพิมพ์ ต่างก็ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ในการจัดเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์จะมีอินเทอร์เฟส สองชนิดด้วยกันคือ 1. แบบ IDE และ 2. SCSI (ออกเสียงว่า สกัซซี่) ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากราคาถูก ส่วนฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI นั้นมีความเร็วในการรับส่ง ข้อมูลสูง ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลบ่อยๆ แต่ก็มีข้อเสียคือราคาแพง สำหรับฮาร์ดดิสก์การเลือกซื้อจะดูที่ความจุของฮาร์ดดิสก์ และก็ความเร็วในการหมุน (ทำให้ค้นหาข้อมูลได้เร็ว) เช่น ความจุ 120 GB ความเร็วรอบ 7200 rpm (รอบต่อนาที) ในรูปจะเห็นคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับที่ฮาร์ดิสก์ไปที่เมนบอร์ด และช่องสำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ ซัพพลาย ส่วนรูปเล็กนั้นเป็นรูปภายในของฮาร์ดดิสก์
Hard diskฮาร์ดิสก์จะทำงานหมุนแผ่นโลหะกลมที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล(ptatters) อยู่ตลอดเวลา การเข้าไปอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์แต่ละครั้ง หัวอ่านซึ่งลอยอยู่เหนือผิวดิสก์โลหะนิดเดียว ขนาดความจุ ความสามารถ และรูปแบบของฮาร์ดิสก์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวาดเร็วหลังจากมีการเปิดตัวฮาร์ดิสก์พร้อมๆ กับเครื่อง IBM XT จากเดิมมีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ มีความหนา 3 ถึง 4 นิ้ว จนต้องใช้ช่องใส่ขนาด 5.25 นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 87 มิลลิวินาที เปลี่ยนไปเป็นความจุ 200 เมกะไบต์ มีขนาดเล็กกว่าฟลอปปี้ดิสก์ 3.5 นิ้ว นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 18 มิลลิวินาที และในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงความจุ เป็นหน่วยกิกะไบต์แล้ว ขนาดก็เล็กลงพร้อมกันนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์แล้ว
1. ตัวถังของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะจะเป็นแผ่นโลหะหุ้มโดยรอบและไม่มีรอยรั่วเพื่อป้องกันฝุ่นผงเข้าตัวฮาร์ดดิสก์ สาเหตุที่เตาต้องป้องกันฝุ่นผงก็คือ ฝุ่นผงมักจะมีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าไปแทรกช่องว่าระหว่างหัวอ่านกับแผ่นดิสก์ ครั้นหัวอ่านเคลื่อนที่ก็จะเป็นการลากถูฝุ่นผงไปบนผิวดิสก์ ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบผิวเป็นรอยขีดข่วนเสียหาย และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้
2. ที่ด้านล่างสุดเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบตุมการทำงานของหัวอ่านและการหมุนดิสก์ เราเรียกแผงวงจรนี้ว่า ลอจิกบอร์ด (logic board) แล้วแปลงคำสั่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อกระทำหัวอ่านให้เป็นแม่เหล็กตามจังหวะ ข้อมูลที่ป้อนให้กับมัน นอกจากนั้นลอกจิกบอร์ดยังทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการหมุนดิสก์ให้คงที่ และบอกให้หัวอ่านเคลื่อนที่ไปมายังบริเวณข้อมูลที่ต้องการเขียน/อ่านอีกด้วย สำหรับดิสก์ที่เป็นระบบ IDE (Intergrated Drive Electribuc/x) คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมดิสก์จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของลอจิกบอร์ดไปเลย
3. แกนหมุนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิสก์โลหะ 4 แผ่น 8 หน้า จะเชื่อมติดกับมอเตอร์แล้วหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อวินาที จำนวนแผ่นดิสก์และหน้าดิสก์ที่มีการเคลือบสารแม่เหล็กจะเป็นตัวบอกขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ อนึ่ง การเคลือบสารแม่เหล๊กที่เป็นอัลลอย(alloy) จะเคลือบบางเพียงเศษสามส่วนล้านนิ้วเท่านั้น
4. แกนหัวอ่านซึ่งถูกกระตุ้นการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า จะถึงหรือผลักแขนหัวอ่านให้วิ่งไปทั่วแผ่นดิสก์ด้วยความแม่นยำ โดยการปรับแต่งการหมุนของแกนหัวอ่านจะกระทำอยู่ตลอดเวลา โดยการอ่านตำแหน่งแทร็กที่มีการเขียนเป็นแนววงกลมทั่วไปบนแผ่นดิสก์
5. หัวอ่าน/เขียน จะติดอยู่กับแขนที่ยิ่นออกไปบนแผ่นดิสก์ เวลาเขียนข้อมูล หัวอ่านจะนำข้อมูลที่มาจากตัวควบคุมดิสก์(disl controller) แปลงเป็นสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้สารเคลือบผิวเกิดการเรียงตัวใหม่ โดยให้เป็นไปในทิศทางของข้อมูลในทางกลับกันหรือในการอ่านหัวอ่านก็จะว่างผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสารแม่เหล็กที่ผิว แล้วถอดรหัสสนามแม่เหล็กเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อมูล
6. เมื่อซอฟต์แวร์ของคุณบอกให้ดอสอ่านหรือเขียนข้อมูล ดอสจะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปที่แฟต (FAT) ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บดัชนีชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ บนดิสก์ ข้อมูลในแฟตนี้จะทำให้หัวอ่านสามารถกระโดดไปอ่านข้อมูลไฟล์ที่คลัสเตอร์นั้นๆ ได้ทันที กรณีที่เป็นการเขียนข้อมูล หัวอ่านก็จะกระโดดไปคลัสเตอร์ที่แฟตบอกว่าว่างได้เช่นเดียวกัน
7. ไฟล์หนึ่งๆ อาจถูกแบ่งซอยออกเป็นหลายคลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์อาจอยู่บนและแผ่นคนละหน้าดิสก์ก็ได้ การไม่ต่อเนื่องของไฟล์นี้เองทำให้แฟต (FAT) มีความสำคัญ กล่าวคือ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ใดเป็นคลัสเตอร์เริ่มต้น จากนั้นจะมีการบอกคลัสเตอร์ต่อไปของไฟล์เหมือนการโยงโซ่ไปเรื่องๆ จนครบทั้งไฟล์ ในการกรณีที่มีการเขียนข้อมูลลงดิสก์ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ไหนที่ว่าง ดอสก็จะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปเขียนข้อมูลในคลัสเตอร์ที่ว่าง ซึ่งอาจจะมีหลายคลัสเตอร์ที่ไม่ต่อเนื่อง เมื่อเขียนเสร็จดอสจะสั่งให้หัวอ่านกลับไปที่แฟตอีกที เพื่อเขียนบันทึกการโยงคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งไฟล์